1. ผลการดำเนินงานตามแผนการดำเนินงานประจำปี ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย ได้ดำเนินงานตามแผนปฏิบัติราชการรายปี (พ.ศ. 2566) ซึ่งจัดทำขึ้นตามความในกฎกระทรวงมาตรฐานการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2565 ข้อ 16 (1) ภายใต้กรอบทิศทางการดำเนินงานที่สอดคล้องและเชื่อมโยงกับแผนปฏิบัติราชการระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2566 – 2570) ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย ที่กำหนดวิสัยทัศน์สู่การเป็น “ผู้นำการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีความเชี่ยวชาญตามสาขาวิชาการหรือวิชาชีพที่ตนถนัด มีทักษะในศตวรรษที่ 21 มีความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์เป็นแหล่งส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต ตลอดจนวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อการบูรณาการพันธกิจสัมพันธ์กับการพัฒนาท้องถิ่นให้มีความเข้มแข็งและยั่งยืน” นอกจากนี้ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย ยังได้ดำเนินงานตามกรอบแผนปฏิบัติราชการของผู้บริหารในการพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏเลย ระยะ 4 ปี (พ.ศ. 2565 – 2568) ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2566 ที่คณะผู้บริหารจัดทำขึ้นในช่วงดำรงตำแหน่งระยะเวลา 4 ปี ระหว่างการดำรงตำแหน่ง (พ.ศ. 2565 – 2568) โดยมีความสอดคล้องและเชื่อมโยงกับแผนปฏิบัติราชการระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2566 – 2570) ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย โดยสรุปผลการดำเนินงานรอบ 12 เดือน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 (ข้อมูลฉบับรายงานผลการดำเนินงานฯ เสนอต่อสภามหาวิทยาลัยราชภัฏเลย ในคราวประชุมครั้งที่ 12/2566 เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2556) ดังนี้
1. ภาพรวมความสำเร็จแผนปฏิบัติราชการรายปี (พ.ศ. 2566) ภายใต้แผนปฏิบัติราชการระยะ 5 ปีฯ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย อยู่ในระดับ 4.50 (ร้อยละ 90.00) จากทั้งหมด 61 OKR ยังเหลือ 1 OKR ไม่นำมาประเมิน 2. ภาพรวมความสำเร็จภายใต้แผนปฏิบัติราชการเพื่อการพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏเลย ระยะ 4 ปีฯ อยู่ในระดับ 4.45 (ร้อยละ 89.02) จากทั้งหมด 181 OKR ยังเหลือ 8 OKR ไม่นำมาประเมิน ตารางที่ 1 ภาพรวมความสำเร็จภายใต้แผนปฏิบัติราชการระยะ 5 ปีฯ และแผนปฏิบัติราชการเพื่อการพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏเลย ระยะ 4 ปีฯ จำแนกตามแผนปฏิบัติราชการแต่ละเรื่อง ลำดับ | แผนปฏิบัติราชการเรื่อง | ผลการดำเนินงานภายใต้แผนฯ ระยะ 5 ปีฯ | ผลการดำเนินงานภายใต้แผนฯ ระยะ 4 ปีฯ | ความสำเร็จ(ระ ดับ) | ความสำเร็จ (ร้อยละ) | ความสำเร็จ (ระ ดับ) | ความสำเร็จ (ร้อยละ) | 1 | การพัฒนาท้องถิ่น (แผนฯ 5 ปี)/ ยกระดับคุณภาพบุคลากรและการพัฒนาท้องถิ่น (แผนฯ 4 ปี) | 4.78 | 95.65 | 4.78 | 95.65 | 2 | การผลิตและพัฒนาครู | 5.00 | | 4.21 | 84.21 | 3 | การยกระดับคุณภาพการศึกษา | 4.67 | 93.33 | 4.03 | 80.65 | 4 | การพัฒนาระบบบริหารจัดการ | 3.46 | 69.23 | 4.48 | 89.61 |
จากการดำเนินงานในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ทั้งแผนฯ 5 ปี และแผนฯ 4 ปี มีเป้าหมายที่ยังอยู่ระหว่างดำเนินงานหรือดำเนินงานแล้วมีปัญหาอุปสรรค รายละเอียดปรากฏดังตารางที่ 2 และตารางที่ 3 ตารางที่ 2 OKR ที่ไม่บรรลุเป้าหมาย/อยู่ระหว่างดำเนินงาน แผนปฏิบัติราชการรายปี (พ.ศ. 2566) ภายใต้แผนปฏิบัติราชการระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2566 – 2570) มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย จำนวน 6 OKR ลำ ดับ | แผนปฏิบัติราชการ | เป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ที่สำคัญ (OKR) | ค่าเป้า หมาย | ผลงาน | 1 | การพัฒนาท้องถิ่น | ร้อยละของประชาชนในท้องถิ่น พื้นที่จังหวัดเลย และจังหวัดขอนแก่นที่เข้าร่วมโครงการมีรายได้เพิ่มขึ้น | ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 50 | ร้อยละ 12.50 | 2 | การยกระดับคุณภาพการศึกษา | ร้อยละของนักศึกษาก่อนสำเร็จการศึกษาที่มีความสามารถ ด้านการใช้ภาษาอังกฤษ เมื่อทดสอบตามมาตรฐานทางความสามารถทางภาษาอังกฤษ TOEIC (คะแนน 450) หรือ ทดสอบมาตรฐาน ตามความสามารถทางภาษาอังกฤษ CEFR อยู่ในระดับ B1 | ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 50 | ร้อยละ 27.11 | 3 | การพัฒนาระบบบริหารจัดการ | ผลการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสการบริหารงานภาครัฐ | ไม่น้อยกว่า ระดับ A | ระดับ B (83.17 คะแนน) | 4 | การพัฒนาระบบบริหารจัดการ | จำนวนคณะ/หน่วยงาน ที่มีรูปแบบการให้บริการแบบ one stop service | 1 คณะ /หน่วยงาน | 0 คณะ/ หน่วยงาน | 5 | การพัฒนาระบบบริหารจัดการ | ร้อยละการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายภาพรวมของมหาวิทยาลัย เป็นไปตามเป้าหมายการเบิกจ่ายของกระทรวงการคลัง | 100% | – งบประมาณแผ่นดิน 100% – งบประมาณเงินรายได้ 91.14% | 6 | การพัฒนาระบบบริหารจัดการ | ร้อยละการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายงบลงทุนของมหาวิทยาลัย เป็นไปตามเป้าหมายการเบิกจ่ายของกระทรวงการคลัง | 100% | – งบ ประมาณแผ่นดิน 100% – งบ ประมาณเงินรายได้ 95.43% |
ตารางที่ 3 OKR ที่ไม่บรรลุเป้าหมาย/อยู่ระหว่างดำเนินงาน ภายใต้แผนปฏิบัติราชการเพื่อการพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏเลย ระยะ 4 ปี (พ.ศ. 2565 – 2568) ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2566 จำนวน 19 OKR ลำดับ | แผนปฏิบัติราชการ | เป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ที่สำคัญ (OKR) | ค่าเป้าหมาย | ผลงาน | 1 | ยกระดับคุณภาพบุคลากรและการพัฒนาท้องถิ่น | แรงงานด้านโลจิสติกส์ในพื้นที่จังหวัดเลย และจังหวัดขอนแก่น ผ่านการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน | 100 คน | 68 คน | 2 | ยกระดับคุณภาพบุคลากรและการพัฒนาท้องถิ่น | รายได้ของผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการมีผลประกอบการ จากการ เข้าร่วมโครงการฯ ที่อยู่ในพื้นที่จังหวัดเลย และจังหวัดขอนแก่น มีรายได้เพิ่มขึ้น | ร้อยละ 20 ต่อปี | อยู่ระหว่างดำเนินงาน | 3 | การผลิตและพัฒนาครู | จัดตั้งชมรมศิษย์เก่าคณะครุศาสตร์สัมพันธ์ | มีชมรม ศิษย์เก่าฯ | อยู่ระหว่างดำเนินงาน | 4 | การผลิตและพัฒนาครู | หลักสูตร Trilingual สำหรับชั้นประถมศึกษา | 1 หลักสูตร | อยู่ระหว่างดำเนินงาน | 5 | การผลิตและพัฒนาครู | นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์การทดสอบระดับชาติ (RT NT O-NET) สูงกว่าคค่าเฉลี่ยระดับประเทศ | สูงกว่าค่าเฉลี่ย ระดับ ประเทศ | 1) RT (ป.1) 65.04% (ประเทศ 77.28%) 2) NT (ป.3) 44.79% (ประเทศ 52.50%) 3) O-NET 3.1) ป.6 | รายวิชา | โรงเรียน | ประเทศ | 1) ภาษาไทย | 51.07 | 53.89 | 2) ภาษาอังกฤษ | 50.61 | 37.62 | 3) คณิตศาสตร์ | 29.81 | 28.06 | 4) วิทยาศาสตร์ | 41.95 | 39.34 |
3.2) ม.3 รายวิชา | โรงเรียน | ประเทศ | 1) ภาษาไทย | 50.67 | 52.95 | 2) ภาษาอังกฤษ | 33.07 | 32.05 | 3) คณิตศาสตร์ | 19.46 | 34.39 | 4) วิทยาศาสตร์ | 29.27 | 33.32 |
3.3) ม. 6 รายวิชา | โรงเรียน | ประเทศ | 1) ภาษาไทย | 47.59 | 44.09 | 2) ภาษาอังกฤษ | 24.23 | 23.44 | 3) คณิตศาสตร์ | 20.42 | 21.61 | 4) วิทยาศาสตร์ | 26.24 | 28.08 | 5) สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม | 36.74 | 33.00 |
| 6 | การยกระดับคุณภาพการศึกษา | การจัดทำรายวิชาออนไลน์บนระบบ LOOCs หรือ MOOCs รายวิชาศึกษาทั่วไป | 8 รายวิชา | 4 รายวิชา | 7 | การยกระดับคุณภาพการศึกษา | การจัดทำรายวิชาออนไลน์บนระบบ LOOCs หรือ MOOCs รายวิชาพื้นฐานในคณะ | 8 รายวิชา | อยู่ระหว่างดำเนินงาน | 8 | การยกระดับคุณภาพการศึกษา | ปรับโครงสร้างพื้นฐานระบบเครือข่าย Core Switch รองรับ Digital Transformation | ปรับโครงสร้างพื้นฐาน | อยู่ในขั้นตอนการจัดซื้อจัดจ้าง | 9 | การยกระดับคุณภาพการศึกษา | การอนุมัติเปิดรายวิชาและรับลงทะเบียนเรียนล่วงหน้ารายวิชาตามหลักสูตรระดับปริญญาตรี | มีการอนุมัติเปิดรายวิชาและรับลงทะเบียนเรียนล่วงหน้า | อยู่ระหว่างดำเนินงาน | 10 | การยกระดับคุณภาพการศึกษา | ร่วมโครงการ UMAP – University Mobility in Asia and the Pacific | 10 คน | อยู่ระหว่างดำเนินงาน | 11 | การยกระดับคุณภาพการศึกษา | SEA–Teacher โดย SEAMEO | 5 คน | อยู่ระหว่างดำเนินงาน | 12 | การพัฒนาระบบบริหารจัดการ | มหาวิทยาลัยได้รับการจัดอันดับ Webometrics เทียบเท่าหรือดีขึ้นในแต่ละปีตัวชี้วัด : ปี 2565 อยู่อันดับที่ 9 ของประเทศ ในกลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏ 38 แห่ง | อันดับที่ 9 | อันดับที่ 16 | 13 | การพัฒนาระบบบริหารจัดการ | หลักสูตรอบรมระยะสั้นเน้นการผลิตผลิตภัณฑ์ทางธรรมชาติ โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือบุคคลทั่วไป ระยะเวลาอบรม ไม่น้อยกว่า 30 ชั่วโมง | 2 หลักสูตร | อยู่ระหว่างดำเนินงานจำนวน 1 หลักสูตร | 14 | การพัฒนาระบบบริหารจัดการ | รายได้ของศูนย์ฝึกเกษตรมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย (ซำไก่เขี่ย) ที่ยังไม่หักค่าใช้จ่าย | ไม่น้อยกว่า 150,000 บาท | อยู่ระหว่างรวบรวมข้อมูลรายได้ | 15 | การพัฒนาระบบบริหารจัดการ | ร้านค้าตราสัญลักษณ์มีรายได้เพิ่มขึ้น เมื่อปรียบเทียบกับ ปี 2565 | เพิ่มขึ้น ร้อยละ 10 | ลดลง ร้อยละ 10.55 | รายได้ของร้านค้าตราสัญลักษณ์ที่มีการนำส่งเงินเข้าเป็นรายได้ของมหาวิทยาลัย ปีงบประมาณ 2565 รวมทั้งสิ้น 1,462,610 บาท และปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 รวมทั้งสิ้น 1,308,263 บาท ลดลงร้อยละ 10.55สาเหตุเนื่องจากรายได้จากการจำหน่ายชุดเฟรชชี่ลดลง เพราะจำนวนนักศึกษาใหม่ปีการศึกษา 2566 ลดลง และรายได้จากการจำหน่ายเครื่องหมายตราสัญลักษณ์ให้กับบัณฑิตช่วงงานพิธีซ้อมรับปริญญาลดลง 2,026 คน (ปี 2566 มีจำนวน 1,285 คน ลดลงจากปี 2565 ซึ่งมีจำนวน 3,311 คน) | 16 | การพัฒนาระบบบริหารจัดการ | ลดการใช้จ่ายเงินงบประมาณที่ได้รับจัดสรรจากมหาวิทยาลัย เพื่อจัดซื้อสินค้าตราสัญลักษณ์ เมื่อเทียบกับปี 2565 | ลดลง 200,000 บาท | เพิ่มขึ้น | 17 | การพัฒนาระบบบริหารจัดการ | นำน้ำเสียกลับมาใช้ประโยชน์ | ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 30 | ร้อยละ 26.20 | 18 | การพัฒนาระบบบริหารจัดการ | ร้อยละบุคลากรสายสนับสนุนได้รับการพัฒนา ตามเป้าหมายไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ในแต่ละปีงบประมาณ | ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 70 | ร้อยละ 61.48 | 19 | การพัฒนาระบบบริหารจัดการ | มีตัวชี้วัดในการประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุนที่ชัดเจน เป็นรูปธรรม มีคำบรรยายลักษณะงาน (Job Description) ไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 ของตำแหน่งสายสนับสนุน | ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 60 | อยู่ระหว่างดำเนินงาน |
2. ปัญหา อุปสรรค ข้อเสนอแนะผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมาย การรายงานผลการดำเนินงานแผนปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 รอบ 12 เดือนฯ นี้ ได้เสนอต่อที่ประชุมคณะอนุกรรมการสภาฝ่ายติดตามการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติราชการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย ในการประชุมครั้งที่ 3/2566 เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 และได้เสนอต่อสภามหาวิทยาลัยราชภัฏเลย ในคราวประชุมครั้งที่ 12/2566 เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2556 โดยมีข้อเสนอแนะต่อการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติราชการฯ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย ดังต่อไปนี้ 1) ผลการดำเนินงานโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิต และยกระดับรายได้ของประชาชนในท้องถิ่นมีรายได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.15 จากเป้าหมายที่ตั้งไว้ร้อยละ 50 เป็นความสำเร็จในระดับหนึ่งที่จะสามารถขับเคลื่อนให้บรรลุเป้าหมายได้โดยให้เพิ่มการวิจัยและพัฒนาเข้าไปด้วย เช่น การวิจัยและพัฒนาดิน และปุ๋ย ในด้านการเกษตร ซึ่งจะเป็นการต่อยอดความสำเร็จในระยะยาว จึงควรจัดทำรายงานผลการดำเนินงานที่พัฒนาอย่างต่อเนื่องทุก ๆ ปี 2) สำนักงานอธิการบดี หรือหน่วยงานอื่น ๆ ควรมีรูปแบบการให้บริการแบบ one stop service ที่เป็นรูปธรรม 3) มหาวิทยาลัยควรประสานความร่วมมือกับหน่วยงานในท้องถิ่นอย่างเพียงพอ โดยเฉพาะในการปฏิบัติงานร่วมกันระหว่างองค์กร อีกทั้งควรเชิญผู้บริหารจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเข้ามาให้คำปรึกษาในการผลิตและพัฒนาครูที่ได้มาตรฐาน และมีคุณธรรมจริยธรรม รวมถึงควรเชิญหัวหน้าส่วนราชการที่ประสบความสำเร็จและเครือข่ายศิษย์เก่าที่มีความเชี่ยวชาญ มาเป็นวิทยากร/ให้คำปรึกษาในการเปิดหลักสูตรใหม่ ๆ เพื่อผลิตบัณฑิตให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้บัณฑิต และควรทำ MOU กับส่วนราชการเพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ และช่วยให้การลงพื้นที่ของอาจารย์และนักศึกษามีประสิทธิภาพ 4) ขอให้มหาวิทยาลัยติดตามผลการดำเนินงานของตัวชี้วัดที่อยู่ระหว่างดำเนินงาน หลังจากที่ได้รายงานผลฯ รอบ 12 เดือน ประจำปี พ.ศ. 2566 ต่อสภามหาวิทยาลัยในครั้งนี้เรียบร้อยแล้ว และรายงานผลสำเร็จของการดำเนินงานตามตัวชี้วัดนั้น ๆ ในปีงบประมาณถัดไป 5) มหาวิทยาลัยควรประชาสัมพันธ์กิจกรรมต่าง ๆ ที่มหาวิทยาลัยจัดขึ้น ต่อประชาคม อาทิ ที่ประชุมกรมการจังหวัด และผ่านทางสื่อโซเชียลมีเดียตลอดจนสนับสนุนและส่งเสริมการลงพื้นที่ประชาสัมพันธ์หลักสูตรของมหาวิทยาลัย อย่างรวดเร็ว และทันต่อเหตุการณ์ 6) การพัฒนาการเรียนการสอนโรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย ให้มีผลสัมฤทธิ์การทดสอบระดับชาติ (RT NT O-NET) สูงกว่าค่าเฉลี่ยระดับประเทศ และควรให้คณะครุศาสตร์ และคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีส่วนร่วมในพัฒนาและเตรียมความพร้อมให้กับนักเรียน มหาวิทยาลัยควรทบทวนผลการดำเนินงานในปีที่ผ่านมา และนำปัญหาอุปสรรค มาพิจารณาปรับปรุงแก้ไข รวมถึงทบทวนเป้าหมายตัวชี้วัด และค่าเป้าหมายของแผนงาน/โครงการ ในปีงบประมาณถัดไปให้เป็นรูปธรรม เหมาะสม สอดคล้องกับบริบทและสถานการณ์ปัจจุบัน |